6.ประเภทของกระเบื้องโมเสค เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

ประเภทของกระเบื้องโมเสค เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

กระเบื้องโมเสค เป็นกระเบื้องที่มีความโดดเด่นแตกต่างจากกระเบื้องอื่น ๆ อย่างชัดเจน ด้วยเป็นกระเบื้องขนาดเล็กที่วางเรียงต่อกันบนผืนตาข่าย จึงสามารถใช้งานได้ทั้งปูพื้น ปูผนัง และปูในพื้นที่ส่วนเว้าโค้งที่กระเบื้องอื่น ๆ ทำไม่ได้ แต่แม้เราทุกคนจะคุ้นเคยกับกระเบื้องโมเสคกันเป็นอย่างดี

ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจดูไม่ออกว่ากระเบื้องโมเสคที่เราเห็นกันนั้นไม่ได้เหมือนกันหมด แต่ต่างชนิดต่างประเภทกันไปตามวัสดุที่นำมาใช้ในการทำ ซึ่งการที่เรารู้จักประเภทของกระเบื้องโมเสคนั้น จะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้งานได้เหมาะสมกับพื้นที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม โดยประเภทของกระเบื้องโมเสคนั้นแบ่งออกได้หลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1.กระเบื้องโมเสคเซรามิค

เป็นกระเบื้องโมเสคที่ผลิตจากเซรามิค ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เหมือนกันเลยกับกระเบื้องเซรามิคที่เรารู้จัก คือมีความแข็งแรง ทนทาน มีสีสันและลวดลายให้เลือกหลากหลาย แต่ด้วยลักษณะของกระเบื้องโมเสคที่เป็นการเรียงตัวต่อกันของกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ จึงทำให้เกิดความสวยงาม และมีมิติที่แปลกใหม่กว่า

ซึ่งกระเบื้องเซรามิคแบบเดิม ๆ ให้ไม่ได้ อีกทั้งยังปูในพื้นที่โค้งเว้าเข้ามุมได้แบบไม่มีข้อจำกัด จึงทำให้ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการตกแต่งอย่างแพร่หลาย ซึ่งเหมาะกับการใช้งานได้ทั้งปูพื้นและปูผนัง ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น พื้นที่ภายนอกอาคาร หรือพื้นที่โถงรับรอง ห้องรับแขก

2.กระเบื้องโมเสคพอร์ซเลน

เป็นกระเบื้องโมเสคที่ผลิตขึ้นมาจากพอร์ซเลน ซึ่งในวงการกระเบื้องจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าพอร์ซเลนนั้นมีความแข็งแกร่งและมีอายุการใช้งานยาวนาน ดังนั้น เมื่อนำมาทำเป็นกระเบื้องโมเสค ก็จึงยังสามารถคงความแข็งแกร่งนั้นได้อยู่ โดยกระเบื้องโมเสดพอร์ซเลนมีความแข็งแกร่งมากกว่ากระเบื้องโมเสคเซรามิค จึงเหมาะสำหรับการใช้งานปูพื้นเพื่อความสวยงามทั้งภายในและภายนอกอาคาร ช่วยสร้างบรรยากาศความแปลกใหม่ด้วยลวดลายที่ไม่เหมือนใคร ทำให้พื้นที่นั้น ๆ มีความพิเศษ หรูหรา และยกระดับความน่าอยู่เพิ่มขึ้นได้อย่างมาก รวมถึงยังเหมาะใช้งานกับพื้นที่บริเวณสระว่ายน้ำ หรือปูพื้นสระว่ายน้ำด้วยก็ได้ เนื่องจากพอร์ซเลนมีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ จึงทำให้สามารถใช้งานในพื้นที่เปียกแช่น้ำได้อย่างดี แข็งแรง ทนทานไม่ชำรุดแตกกร่อนเสียหายง่าย

3.กระเบื้องโมเสคหิน

เป็นกระเบื้องโมเสคที่ผลิตขึ้นมาจากหินธรรมชาติ จัดว่าเป็นกระเบื้องโมเสคที่มีความแข็งแกร่งทนทานมากอีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับกระเบื้องโมเสคพอร์ซเลน แต่ความสวยงาม สีสัน และลวดลายก็จะมีจำกัดน้อยกว่า ซึ่งก็แลกมาด้วยราคาที่ย่อมเยากว่ากระเบื้องโมเสค เรียกว่าเป็นทางเลือกของคนที่อยากได้กระเบื้องโมเสคที่ใช้ในงานปูพื้น ต้องการความสวยงามแต่งบประมาณย่อมเยา และที่สำคัญคือต้องการกระเบื้องโมเสคที่มีความแข็งแกร่งสำหรับรองรับการใช้งานหนัก ๆ ที่ต้องเจอการสัญจรไปมา ต้องแบกรับน้ำหนักของเฟอร์นิเจอร์หรือการตั้งวางสิ่งของอื่น ๆ  บนผิวกระเบื้อง

4.กระเบื้องโมเสคแก้ว

เป็นกระเบื้องโมเสคที่ผลิตขึ้นมาด้วยมีแก้วเป็นส่วนผสม จึงทำให้มีความโดดเด่นสวยงามที่ไม่เหมือนกระเบื้องโมเสคชนิดอื่น ๆ โดยจะมีความแวววาวเป็นประกาย เหมาะสำหรับการใช้ในงานตกแต่งที่ต้องการความอลังการ ยกระดับพื้นที่ให้ดูหรูหราสวยงาม ซึ่งแน่นอนว่าก็ยังมีสีสันและลวดลายหลากหลายให้เลือกตามสไตล์กระเบื้องโมเสคเช่นเคย

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังก็คือไม่ควรนำกระเบื้องโมเสคแก้วไปใช้กับงานปูพื้น เพราะเหมาะกับงานปูผนังมากกว่า เนื่องจากกระเบื้องโมเสคแก้วจะมีความแข็งแกร่งที่น้อยกว่ากระเบื้องโมเสคชนิดอื่น ๆ ที่กล่าวมา ตามคุณสมบัติของแก้วที่แข็งแรงน้อยกว่าเซรามิค หิน และพอร์ซเลน นั่นเอง

Lamour Beige

ในปัจจุบันนอกจากกระเบื้องโมเสคเซรามิค หิน พอร์ซเลน และกระเบื้องโมเสคแก้วแล้ว จริง ๆ ก็ยังมีกระเบื้องโมเสคชนิดอื่น ๆ ที่ทำมาจากวัสดุอื่น ๆ อีกเช่นกัน เช่น กระเบื้องโมเสคกระจก ที่มีลักษณะคล้ายกับกระเบื้องโมเสคแก้ว แต่มีความเงาวาวมากกว่า คือสามารถใช้ส่องสะท้อนคล้ายกระจกเงาได้เลย เพียงแต่จะไม่ใสเหมือนกระจกเท่านั้น เพราะก็ยังต้องมีสีสันและลวดลายสำหรับใช้งานในแง่ของการตกแต่งอยู่

หรือกระเบื้องโมเสคบางชนิด ก็มีส่วนผสมของหิน พอร์ซเลน กระจก เซรามิค ผสมรวมกันเลยอยู่ในผืนเดียว เรียกกว่าเป็นกระเบื้องโมเสคผสม ซึ่งด้วยความหลากหลายของประเภทกระเบื้องโมเสคที่มีข้อดีเด่นที่แตกต่างกันไปนี้เอง จึงทำให้ในการเลือกใช้งาน จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน รอบคอบ เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานในพื้นที่ที่แตกต่างกันไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสวยงามมากที่สุด

กระเบื้อง Porcela สไลด์66

Porcela ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)